เมนู

ด้วยประการดังนี้. ธรรมที่เนื่องด้วยอินทรีย์มีสิ่งเป็นต้นว่าอวิชชา ตัณหา
กรรม อาหาร, เป็นปัจจัย ปัจจัยในหนหลังนั้นแล ท่าน เรียกว่า
อาหาร ( แต่ ) ในที่นี้ ท่านเรียกว่า สังขาร ความแตกต่างกัน
ไม่เรื่องนี้ มีเพียงเท่านี้แล. บทว่า อยํ โข อาวุโส ความว่า ท่านทั้งหลาย
ธรรมหนึ่งอันนี้ พระศาสดาของพวกเราประทับนั่ง ณ มหาโพธิมณฑล
ทรงทำให้แจ้งด้วยพระองค์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วได้ทรงแสดงไว้ อัน.
เป็นธรรมหนึ่งที่ท่านทั้งหลาย พึงสังคายนาพร้อมเพรียงกัน ไม่พึงโต้แย้ง
กัน. คำว่า ยถยิทํ พฺรหฺมาจริยํ ความว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้ พึงตั้งมั่น
อยู่ได้ ดังที่เมื่อท่านทั้งหลายสังคายนาอยู่. คือเมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า
" ท่านทั้งหลายธรรมหนึ่งอันพระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้วมีอยู่, ธรรมหนึ่ง
คืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้
เพราะสังขาร " ดังนี้, ภิกษุรูปหนึ่งได้ฟังคำกล่าวของภิกษุรูปนั้นแล้วก็บอก
กล่าวต่อไป อีกรูปหนึ่งได้ฟังก็บอกกันต่อไปอีก โดยกำหนดคำบอกกล่าว
สืบ ๆ กันไป ด้วยประการอย่างนี้แล พรหมจรรย์นี้ก็จักดำรงอยู่ตลอด
กาลนาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ท่านพระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรเถระได้แสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจธรรมหมวดหนึ่งด้วย
ประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด 1

ว่าด้วยธรรมหมวด 2



ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยว่าอำนาจธรรมหมวดหนึ่ง ดังกล่าวมานี้แล้ว

บัดนี้ พระเถระได้เริ่มเทศนาต่อไป เพื่อแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง.
ในธรรมหมวดสอง คือ นามรูป นั้น นาม ได้แก่อรูปขันธ์ 4 และ
นิพพาน 1. บรรดาธรรมเหล่านี้ ขันธ์ 4 ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า
น้อมไป. คำว่า ด้วยอรรถว่า น้อมไป หมายความว่า ด้วยอรรถว่า
กระทำชื่อ. เหมือนอย่างว่า พระเจ้ามหาสมมต มีพระนามว่า "มหาสมมต"
ก็เพราะมหาชนสมมติ ( ยกย่อง, หมายรู้พร้อมกันขึ้น ) หรือเหมือนอย่าง
พ่อแม่ ตั้งชื่อให้เป็นที่กำหนดหมายแก่บุตร อย่างนี้ว่า " คนนี้ชื่อดิศ คนนี้
ชื่อบุส" หรือเหมือนอย่างชื่อที่ได้มา โดยคุณสมบัติว่า " พระธรรมกถึก
พระวินัยธร" ดังนี้ฉันใด, ขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น จะได้ชื่อฉันนั้น
หามิได้. แท้จริง เวทนาเป็นต้น ย่อมมีชื่อของตนเกิดขึ้น ( เอง )
เหมือนมหาปฐพี เป็นต้น. เมื่อขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์
เหล่านั้น ก็เป็นอันเกิดขึ้นด้วยทีเดียว. เพราะไม่มีใครที่จะมากล่าวกับ
เวทนาที่เกิดขึ้นว่า "เจ้าจงชื่อว่าเวทนา". และธุระที่จะต้องตั้งชื่อแก่
เวทนานั้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หามีไม่. เหมือนอย่างเมื่อแผ่นดิน
เกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อแผ่นดิน, เมื่อจักรวาล เขา
พระสุเมรุ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตรเกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะ
ต้องตั้งชื่อว่า "เจ้าจงชื่อจักรวาล ฯลฯ เจ้าจงชื่อนักษัตร" ชื่อเป็นอันเกิดขึ้น
ทีเดียว ตกลงเป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นได้เองฉันใด, เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่
มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า " เจ้าจงชื่อเวทนา" เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น
อันเกิด มีชื่อว่า เวทนาเลยทีเดียว ฉันนั้น. แม้สัญญาเป็นต้น ก็มีนัย
อย่างนี้. เวทนาแม้ในอดีต ก็คือชื่อว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร วิญญาณ
ในอดีต แม้ในอนาคต แม้ในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ
เช่นเดียวกัน. อนึ่ง นิพพาน ทั้งในอนาคต ทั้งในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า

นิพพาน ทุกเมื่อไปแล. ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า กระทำชื่อ ด้วย
ประการดังนี้. อนึ่ง ขันธ์ 4 ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่า นาม
แม้ด้วยอรรถว่า น้อมไป. เพราะขันธ์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหน้าน้อมไปใน
อารมณ์. แม้สิ่งทั้งปวงก็ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า น้อมไป. ขันธ์ 4
ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์. นิพพานย่อมยังธรรมอันไม่มีโทษ
ให้น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นใหญ่ในอารมณ์. คำว่า
รูป หมายถึงมหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4. ทั้งหมดนั้นชื่อว่า
รูป เพราะอรรถว่า ต้องย่อยยับไป. คำบรรยายโดยละเอียดสำหรับรูปนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคปกรณ์.
คำว่า อวิชฺช ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ มีทุกข์เป็นต้น. แม้เรื่องนี้
ก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในวิสุทธิมรรคเช่นกัน. คำว่า ภวตณฺหา
หมายถึงความปรารถนาภพ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น
ภวตัณหาคืออะไร คือความพอใจ ความเป็นในภพทั้งหลาย" ดังนี้เป็นอาทิ.
คำว่า ภวทิฏฺฐิ ( นี้ ) ความเที่ยง ท่านเรียกว่า ภวะ คือ ทิฐิ
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความเห็นว่าเที่ยง แม้ทิฐินั้นท่านก็แถลงรายละเอียด
ไว้แล้วในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นรำ "บรรดาทิฐิเหล่านั้น ภวทิฐิคือ
อะไร คือทิฐิได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า " ตนมี โลกมี " ดังนี้. คำว่า
วิภวทิฏฺฐิ (นี้) ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ คือทิฐิที่เกิดขึ้นด้วย
อำนาจเห็นว่าขาดสูญ แม้ที่นั้น ท่านก็แถลงรายละเอียดไว้แล้วในพระ
อภิธรรมเช่นเดียวกันโดยนัยเป็นต้นว่า "บรรดาทิฐิเหล่านั้น วิภวทิฐิคือ
อะไร คือทิฐิ ได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า "ตนไม่มี โลกไม่มี" ดังนี้.

คำว่า อหิริกํ ได้แก่ความไม่ละอาย ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้
อย่างนี้ว่า " ความไม่ละอายด้วยสิ่งที่ควรจะละอาย." คำว่า อโนตฺตปฺปํ
ได้แก่อาการที่ไม่หวาดกลัว ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "ความไม่
สะดุ้งกลัวด้วยสิ่งที่ควรจะสะดุ้งกลัว."
คำว่า หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ ได้แก่ความละอาย และความสะดุ้งกลัว
ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า " ความละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย
ความสะดุ้งกลัว ด้วยสิ่งที่ควรสะดุ้งกลัว" อีกประการหนึ่ง บรรดาธรรม
2 อย่างนี้ หิริ มีสมุฏฐานจากภายใน โอตตัปปะ มีสมุฏฐานจากภายนอก
หิริมีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะ มีโลกเป็นใหญ่ หิริตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือ
ความละอายใจ โอตตัปปะ. ตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือความกลัว. คำอธิบาย
โดยละเอียดในเรื่องหิริโอตตัปปะนี้ ได้กล่าวไว้ครบถ้วนแล้วในวิสุทธิมรรค.
คำว่า โทวจสฺสตา มีบทนิยาม ดังนี้ - การว่ากล่าวในบุคคลนี้
ผู้มักถือเอาแต่สิ่งน่ารังเกียจติดใจในสิ่งที่เป็นข้าศึก ไม่เอื้อเฟื้อ เธอฟัง เป็น
การยาก ดังนั้น บุคคลผู้นี้จึงชื่อ ทุพฺพโจ ผู้ว่ายาก การกระทำของบุคคล
ผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสํ, ภาวะของโทวจัสสะนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสตา
ภาวะแห่งการกระทำของผู้ว่ายาก - ความเป็นผู้ว่ายาก. ความเป็นผู้ว่ายากนี้
รายละเอียดมีมาในพระอภิธรรมว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โทวจัสสตา
คืออะไร. คือความเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ในเมื่อเพื่อนสหธรรมิกกำลังว่า
กล่าวตักเตือนอยู่ ". โทวจัสสตานั้น โดยความหมาย ย่อมเป็นสังขารขันธ์.
แต่บางท่านกล่าวว่า คำนี้เป็นชื่อของขันธ์ทั้ง 4 ที่เป็นไปโดยอาการเช่นนี้.
คำว่า ปาปมิตฺตตา มีบทนิยามดังนี้. - คนชั่วทั้งหลาย มีคนไร้ศรัทธา

เป็นต้น เป็นมิตรของผู้นั้น ดังนั้น เขาจึงชื่อว่า ปาปมิตฺโต ( ผู้มีคนชั่ว
เป็นมิตร ) ภาวะแห่งปาปมิตตะนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตา ( ความเป็นผู้มี
คนชั่วเป็นมิตร ). ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตรนี้ รายละเอียดมีมาในพระ
อภิธรรม อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปาปมิตฺตตา คืออะไร ?
คือการคบหาสมาคมส้องเสพ มั่วสุม จงรักภักดี ประพฤติคล้อยตาม
บุคคลผู้ไร้ศรัทธา ทุศีล ขาดการศึกษา ตระหนี่ และไม่มีปัญญา ".
แม้ปาปมิตตตานั้น โดยความหมาย ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ โทวจัสสตา.
ความเป็นผู้ว่าง่าย และความมีคนดีเป็นมิตร พึงทราบโดยนัยตรง
กันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว. คุณธรรมทั้ง 2 ประการนี้ ในที่นี้ ท่าน
กล่าวระคนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
คำว่า อาปตฺติกุสลตา คือความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องอาบัติ ที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ คือความรู้ ความเข้าใจใน
เรื่องอาบัติ 5 กอง อาบัติ 7 กองเหล่านั้น". คำว่าอาปตฺติวุฏฐานกุสลตา
คือความรู้ความเข้าใจเรื่องกำหนดการออกจากอาบัติ พร้อมทั้งกรรมวาจา ที่
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาด ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออก
จากอาบัติเหล่านั้น"
คำว่า สมาปตฺติกุสลตา คือความรู้ ความเข้าใจเรื่องกำหนด
อัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาด
ความรู้ ความเข้าใจเรื่องสมาบัติ เหล่านั้นที่มีอยู่ ทั้งที่เป็นสมาบัติที่มีวิตก
วิจาร, สมาบัติที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร, สมาบัติที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร"
คำว่า สมาปตฺติวุฏฺฐานกุสลตา คือปัญญาเครื่องกำหนดเวลาที่จะออกจาก

สมาบัติว่า "พอตะวันเกินไปแค่นี้ เราจะออก" ซึ่งเป็นปัญญาที่สามารถ
จะออกจากสมาบัติได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความ
เป็นผู้ฉลาด ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการออกจากสมาบัติเหล่านั้น".
คำว่า ธาตุกุสลตา คือ ปัญญาในการสดับฟัง การทรงจำ การ
พิจารณา และการรู้แจ้ง อันเป็นเครื่องกำหนดสภาวะแห่งธาตุ 18 ที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ คือความรู้ ความเข้าใจ
เรื่องธาตุ 18 อย่าง คือ จักษุธาตุ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ". คำว่า
มนสิการกุสลตา ได้แก่ปัญญาในการพิจารณา การรู้แจ้ง การเพ่งพิศ
ธาตุทั้งหลายเหล่านั้นแล ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาด
ความรู้ ความเข้าใจธาตุทั้งหลายเหล่านั้น".
คำว่า อายตนกุสลตา คือ ปัญญาในการเรียนรู้ การใส่ใจ การ
เข้าใจ อายตนะ 12 ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ
คือ ความรู้ ความเข้าใจอายตนะ 12 คือ จักษุอายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ".
อีกประการหนึ่ง ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ย่อมควร ในการเรียนรู้ การใส่ใจ การ
สดับฟัง การพิจารณา การรู้แจ้ง และการเพ่งพิศ. ส่วนความแตกต่างกัน
ในธรรมเหล่านี้ มีดังนี้ การสดับฟัง การเรียนรู้ และการเพ่งพิศ เป็น
โลกิยะ, การรู้แจ้ง เป็นโลกุตระ, การพิจารณา การใส่ใจเป็นโลกิยะ
และโลกุตระระคนกัน. คำว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา คือ ปัญญาที่
เป็นไปด้วยอำนาจเป็นต้นว่าการเรียนรู้ปัจจยาการ 12 ที่ท่านกล่าวไว้อย่าง
นี้ว่า ความรู้ ความเข้าใจ ในปัจจยาการที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีได้ ด้วย
ประการดังนี้".
คำว่า ฐานกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกำหนดฐานะ
อย่างนี้ว่า "จักษุ รูป เป็นฐานะและเป็นเหตุแห่งจักษุวิญาณ ซึ่งเกิดขึ้น
โดยกระทำจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระทำรูปให้เป็นอารมณ์ ท่านกล่าวไว้ใน
พระอภิธรรม อย่างนี้ว่า" ความรู้ ความเข้าใจ ในธรรมทั้งหลาย ว่าเป็น
เหตุ เป็นปัจจัย อาศัยธรรมเหล่าใด ๆ ธรรมนั้น ๆ จัดเป็นฐานะ ". คำว่า
อฏฺฐานกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกำหนด อฐานะอย่างนี้ว่า
" โสตวิญญาณเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้นโดยกระทำจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระ
ทำรูปให้เป็นอารมณ์, เพราะฉะนั้น จักษุรูปจึงไม่เป็นฐาน ไม่เป็นเหตุแห่ง
โสตวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในพระอภิธรรมว่า ความรู้
ความเข้าใจในธรรมทั้งหลายว่า มิใช่เป็นเหตุ มิใช่เป็นปัจจัย อาศัยธรรม
เหล่าใด ๆ ธรรมนั้น ๆ จัดเป็นอฐานะ". อีกประการหนึ่งพึงทราบความ
หมายในธรรมหมวดสองนี้ โดยพระสูตรนี้ว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงควรจะกล่าวได้ว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
อฐานะ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่บุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ พึงเข้าไปยึดสังขารไร ๆ โดยเป็นของเที่ยง นั่นไม่เป็น
ฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่จะมิได้ ส่วนข้อที่ปุถุชนจะพึงเข้าไปยึดสังขารไร ๆ
โดยเป็นของเที่ยง นั่นเป็นฐานะที่จะมิได้".
คำว่า อาชฺชวํ ได้แก่ ความไม่ตรง 3 ชนิด คือ โคมุตตวังกตา
จันทวังกตา และ นังคลโกฏิวังกตา. อธิบายว่า ภิกษุบางรูป ในปฐมวัย

ประพฤติในอเนสนา 21 และอโคจร 6 แต่ในมัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
เป็นผู้มีความละอาย รังเกียจ ใคร่การศึกษา, อันนี้ชื่อว่า โคมุตตวังกตา
(คดดังโคมูตร). ภิกษุรูปหนึ่งในปฐมวัย และปัจฉิมวัย บำเพ็ญจตุปาริ-
สุทธิศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในมัชฌิมวัย
เหมือนกับรูปก่อน อันนี้ชื่อว่า จันทวังกตา ( คดดังวงจันทร์). ภิกษุรูป
หนึ่ง ทั้งในปฐมวัย และมัชฌิมวัย บำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย
รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในปัจฉิมวัย เหมือนกับรูปก่อน อันนี้ชื่อว่า
นังคลโกฏิวังกตา ( คดดังปลายไถ ). ภิกษุรูปหนึ่ง ละความคดทั้งหมดนั่น
เสียแล้ว มีศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ทั้ง 3 วัย
ความตรงของภิกษุรูปนั้น อันนี้แล ชื่อว่า อาชฺชวํ. แม้ในพระอภิธรรม
ก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อาชชวะ คือ อะไร คือ ความตรง
ความไม่งอ ความไม่คด ความไม่โกง. อันนี้ เรียกว่าอาชชวะ. คำว่า
ลชฺชวํ ได้แก่ความเป็นมีความละอาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ลัชชวะ คือ อะไร คือ ละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย ละอาย
ต่อการประพฤติบาปกรรม อกุศลธรรม อันนี้เรียกว่า ลัชชวะ".
คำว่า ขนฺติ ได้แก่อธิวาสนขันติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ขันติ คืออะไร คือ ความอด ความทน ความกลั้น ความไม่
เดือดดาล ความไม่หุนหันพลันแล่น ความใจเย็น แห่งจิต". คำว่า โสรจฺจํ
ได้แก่ความเสงี่ยม ที่ท่านกล่าวไว้อยู่ไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสรัจจะ
คืออะไร คือ ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกาย ความไม่ล่วงล้นออกมาทางวาจา
ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกายและวาจา, นี้เรียกว่า โสรัจจะ, แม้ศีลสังวร

ทั้งหมด ก็จัดว่าเป็นโสรัจจะ".
คำว่า สาขลฺยํ ได้แก่ความเป็นผู้ร่าเริงอ่อนโยน ที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น สาขัลยะ คือ อะไร คือ ความมีวาจา
อ่อนหวาน ความมีวาจาไพเราะ ความมีวาจาไม่หยาบ ในท่านผู้ละถ้อยคำ
อันหยาบช้า สามานย์ เผ็ดร้อน ดุด่าผู้อื่น ชวนโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เช่นนั้นเสียแล้ว พูดจาแต่ถ้อยคำอันสุภาพ เสนาะโสต น่ารัก
ถูกใจ ทันสมัย เป็นที่พอใจ รักใคร่ขอชนหมู่มาก เช่นนั้น. นี้เรียกว่า
สาขัลยะ".
คำว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่การรับรองด้วยอามิส และด้วยธรรม
เหมือนกับว่า ปูตั่งด้วยเครื่องลาด โดยลักษณะที่โลกสันนิวาสนี้ ซึ่งมี
ช่องอยู่ 2 ช่อง คือ ช่องอามิส และช่องธรรม นั้น จะไม่ปรากฎช่องได้เลย.
แม้ใน พระอภิธรรม ก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปฏิสันถาร
คืออะไร คือ ปฏิสันถาร 2 อย่าง ได้แก่ อามิสปฏิสันถาร การรับรอง
ด้วยอามิส และ ธรรมปฏิสันถาร การรับรองด้วยธรรม, บางตนในโลกนี้
เป็นผู้ปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถารบ้าง ด้วยธรรมปฏิสันถารบ้าง, นี้
เรียกว่า ปฏิสันถาร". และในที่นั้น การเคราะห์ด้วยอามิส ชื่อว่า อามิส-
ปฏิสันถาร. เมื่อจะทำอามิสปฏิสันถารนั้น แก่บิดามารดา ชาววัด แก่ไวยา-
วัจกร แก่พระราชาและแก่โจร ไม่ควรจะเอาส่วนดี ๆ ไว้ เสียก่อนแล้วให้
(แต่ส่วนที่ไม่ดี) เพราะเมื่อถือเอาเสียก่อนแล้ว จึงให้ (เช่นนั้น) พระราชา
และโจร ย่อมจะทำความพินาศให้บ้าง ให้ถึงสิ้นชีวิตบ้าง เมื่อไม่ถือเอา
ก่อนแล้วให้ พระราชาและโจรย่อมจะพอใจ. และในกรณีเช่นนี้ ควรจะ

เล่าเรื่องโจรนาคเป็นต้น ( เป็นตัวอย่าง ). เรื่องเหล่านั้น มีรายละเอียดอยู่
ในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยแล้ว. การตั้งใจสงเคราะห์ด้วยธรรม
อย่างนี้ คือ ให้อุเทศ อธิบายพระบาลี กล่าวธรรมกถา ชื่อว่า ธรรม
ปฏิสันถาร.
คำว่า อวิหึสา หมายเอาทั้งกรุณา ทั้งบุรพภาคแห่งกรุณา. ข้อนี้
ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อวิหิงสา คือ อะไร คือ ความ
กรุณาสงสาร เอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งกรุณาเจโตวิมุตติ ( การหลุด
พ้นด้วยใจ โดยอาศัยกรุณา ), นี้เรียกว่า อวิหิงสา". คำว่า โสเจยฺยํ
หมายถึงความสะอาด ด้วยอำนาจเมตตา และบุรพภาคแห่งเมตตา. ข้อนี้
ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสเจยยะ คืออะไร คือ ไมตรี
ความเมตตา รักใคร่ ในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งเมตตาเจโตวิมุตติ ( การ
หลุดพัน ด้วยใจโดยอาศัยเมตตา ) นี้เรียกว่า โสเจยยะ".
คำว่า มุฏฺฐสจฺจํ คือ การอยู่อย่างขาดสติ สมดังที่กล่าวไว้ว่า
บรรดาธรรมเหล่านั้น มุฏฐสัจจะ คืออะไร คือ ไม่มีสติ ระลึกตามไปไม่ได้
ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้ นึกไม่ออก จำไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม, นี้เรียกว่า
มุฏฐสัจจะ. คำว่า อสมฺปชญฺญ ได้แก่ อวิชชานั่นเอง ที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า " บรรดาธรรมเหล่านั้น อสัมปชัญญะ คือ อะไร คือความไม่รู้
ไม่เห็น ฯ ล ฯ ขัดข้องเพราะอวิชชา ความหลง อกุศลมูล".
สติ ก็คือสตินั่นเอง. สัมปชัญญะ คือ ญาณ ( ความรู้).
คำว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา หมายถึงการขาดความสำรวม
อินทรีย์ ที่ท่านแถลงไว้อย่างละเอียดโดยนัย เป็นต้นว่า " บรรดาธรรม

เหล่านั้น ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คืออะไร คือ (อาการที่)
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้ยึดถือเอาโดย
นิมิต". คำว่า โภชเน อมตฺตญฺญุตา คือ ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
ที่มาอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
คืออะไร คือ ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ไม่พิจารณาเสียก่อน บริโภค
อาหารโดยไม่แยบคาย เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อดกแต่ง เพื่อสวยงาม.
ความไม่สันโดษ ความไม่รู้จักประมาณ ในโภชนะที่มิได้พิจารณา ( แล้ว
บริโภค)".
ธรรมหมวดสองในลำดับนั้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่
กล่าวแล้ว.
คำว่า ปฏิสงฺขานพลํ ได้แก่ ญาณอันไม่หวั่นไหว เพราะไม่ได้
พิจารณา ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ปฏิสังขานพละ คืออะไร คือ ความรู้ ความเข้าใจ". คำว่า ภาวนาพลํ
หมายถึงพละที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้อบรมอยู่. โดยความหมาย ก็คือ โพชฌงค์ 7
โดยหัวข้อมีวิริยสัมโพชฌงค์. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ภาวนาพละ คืออะไร คือ การเสพคุ้น การทำให้มี การทำให้มาก ซึ่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาพละ, แม้โพชฌงค์ 7 ก็จัดเป็น
ภาวนาพละ".
คำว่า สติพลํ ก็คือ สตินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความ
ไม่มีสติ. คำว่า สมาธิพลํ ก็คือสมาธินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะ
ความฟุ้งซ่าน.

สมถะ คือ สมาธิ. วิปัสสนา คือ ปัญญา.
สมถะนั่นเอง ชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยอำนาจนิมิตแห่งสมถะ ที่ถือเอา
อาการนั้นแล้ว พึงให้เป็นไปอีก. แม้ในปัคคาหนิมิต ( นิมิตที่เกิดเพราะ
ความเพียร ) ก็นัยนี้เช่นกัน.
ปัคคาหะ ก็คือความเพียร. อวิกเขปะ ก็คือความมีใจแน่วแน่. ต่อจาก
ธรรมหมวดสอง ทั้ง 6 คู่ เหล่านี้ คือ สติและสัมปชัญญะ 1 ปฏิสังขาน-
พละและภาวนาพละ 1 สติพละและสมาธิพละ 1 สมถะ และวิปัสสนา 1
สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต 1 ปัคคาหะและอวิกเขปะ 1 พระเถระได้กล่าว
ธรรมทั้งโลกิยะ และโลกุตระระคนกัน คือ ศีลสัมปทาและทิฐิสัมปทา
อย่างละคู่.
คำว่า สีลวิปตฺติ หมายถึงความไม่สำรวมอันเป็นตัวการทำศีลให้
พินาศ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติ คืออะไร
คือ ความล่วงละเมิดทางกาย ฯลฯ ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ชื่อว่า
ศีลวิบัติ." คำว่า ทิฏฺฐิวิปตฺติ หมายถึงมิจฉาทิฐิอันเป็นตัวการทำสัมมาทิฐิ
ให้พินาศ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิวิบัติคืออะไร
คือความเห็นที่ว่าให้ทานไม่มีผล บูชาไม่มีผล ".
คำว่า สีลสมฺปทา ความว่า โสรัจจะนั่นเองที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาคือ อะไร คือ ความไม่
ล่วงละเมิดทางกาย" ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลสัมปทา เพราะยังศีลให้ถึงพร้อม
บริบูรณ์. แต่คำที่กล่าวในที่นี้ว่า "ศีลสังวรทั้งหมด ชื่อว่าศีลสัมปทา" นี้
กล่าวไว้เพื่อจะรวมเอาความไม่ล่วงละเมิดทางใจเข้ามาด้วยให้ครบถ้วน.
คำว่า ทิฏฺฐิสมฺปทา หมายถึงญาณ อันเป็นเครื่องทำทิฐิให้บริบูรณ์ ที่มา

แล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิสัมปทา คืออะไร คือความรู้
ความเข้าใจเช่นนี้ว่า "ให้ทานมีผล บูชามีผล ฯลฯ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
ทำความข้อนี้ให้แจ้งแล้ว จึงประกาศไว้ ".
คำว่า สีลวิสุทฺธิ คือศีลอันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้. ส่วน
ในพระอภิธรรม ท่านแจกแจงศีลวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ศีลวิสุทธิ คืออะไร คือ ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทาง
วาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิสุทธิ คำว่า
ทิฏฺฐิวิสุทฺธ คือทัศนะ อันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้ ในพระอภิธรรม
ท่านกล่าวถึงทิฐิวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า" "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิวิสุทธิ
คืออะไร คือ กัมมัสสกตญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคีญาณ ผลสมัง-
คีญาณ". และในบรรดาญาณเหล่านี้ ความรู้อย่างนี้ว่า "ทุจริต 3 อย่าง
ทั้งที่ตนเองทำ ทั้งที่ผู้อื่นทำ ไม่ชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะหักราน
ประโยชน์ สุจริต 3 อย่างชื่อว่า เป็นกรรมของตน เพราะให้เกิดประโยชน์"
ดังนี้ ชื่อว่า กัมมัสสกตญาณ. ผู้ที่ตั้งอยู่ในญาณแล้ว ขวนขวาย (ทำ)
กรรมอันเป็นไปในวัฏฏะเป็นอันมาก และบรรลุพระอรหัตโดยสะดวกดาย
มีจำนวนเหลือที่จะนับ. ส่วนวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
เพราะอนุโลมวจีสัจจะ ฯลฯ และไม่สวนทางกับปรมัตถสัจจะ
ในคำว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ ( ความ
หมดจดแห่งทิฐิ และความเพียรของผู้มีทิฐิ ) นี้ ญาณทัศนะ ท่านเรียกว่า
ทิฐิวิสุทฺฐิ คำว่า ยถา ทิฏฺฐิสฺส จ ปธานํ หมายถึงความเพียรที่ประกอบ
ไปด้วยญาณทัศนะนั้น. อีกนัยหนึ่ง บทแรก หมายถึง จตุมรรคญาณ,

บทหลัง หมายถึงความเพียรที่ประกอบด้วย จตุมรรคญาณนั้น. ส่วนใน
พระอภิธรรม ท่านแจกแจงธรรมหมวดสองคู่นี้ไว้อย่างนี้ว่า " คำว่า
ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ โข ปน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ฯลฯ ความไม่หลง
ความสอดส่องธรรม สัมมาทิฐิ คำว่า ยถา ทิฏฺญสฺส จ ปธานํ ได้แก่
ความริเริ่มความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ".
ในคำว่า สํเวโค จ สํเวชนีเยสุ ฐาเนสุ นี้ ที่ชื่อว่า สังเวคะ
ได้แก่ ญาณทัศนะ โดยการเห็น ความเกิดเป็นต้นโดยเป็นภัย อย่างนี้ว่า
ชาติภัย ( ความเกิดเป็นภัย ) ชราภัย ( ความแก่เป็นภัย ) พยาธิภัย
( ความเจ็บเป็นภัย ) มรณภัย ( ความตายเป็นภัย ). คำว่า สํเวชนียํ ฐานํ
หมายถึงชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ. ทั้ง 4 ประการเหล่านี้ ท่าน
เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความสังเวช
อย่างนี้ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์. คำว่า
สํวิคฺคสฺส จ โยนิโสปธานํ คือความเพียรโดยแยบคาย ของท่านผู้ที่
เกิดความสังเวชอย่างนี้. คำนี้เป็นชื่อของความเพียรที่มาแล้วอย่างนี้ว่า
"ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่ง
บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดขึ้น".
คำว่า อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ความปรารถนา
ที่จะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของท่านผู้ยังไม่พอใจด้วยการอบรมกุศลธรรม. ที่จริง
บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอสันตุฏฐิตานั้น บำเพ็ญศีลแล้วย่อมยังฌานให้เกิดขึ้น,
ได้ฌานเเล้ว ย่อมเริ่มวิปัสสนา เริ่มวิปัสสนาแล้ว ยังไม่บรรลุพระอรหัต
ย่อมไม่ย่อหย่อนเสียในระหว่าง. คำว่า อปฺปฏิวานิตา ข ปธานสฺมึ
หมายความว่า อาการที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ท้อถอย ในความ
เพียรที่ริเริ่มขึ้นด้วยอำนาจ ชาคริยานุโยค ที่ทำวันคืนหนึ่งให้เป็น 6 ส่วน

ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "การทำโดยตั้งใจ การทำติดต่อกัน การทำไม่หยุด
การประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดทิ้งความพอใจ การไม่ทอดธุระ การ
เสพคุ้น การทำให้มีขึ้น การทำให้มาก ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย".
คำว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา 3 . คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ 2 คือ
อธิมุตติแห่งจิต และนิพพาน. และในที่นี้ สมาบัติ 8 ชื่อว่า
อธิมุตติ เพราะพ้นแล้วเป็นอันดี จากกิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น
นิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง.
คำว่า ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป.
คำว่า อนุปฺป เท ญาณํ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดย
ปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้น ๆ
ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "คำว่า ขเย ญาณํ คือ ญาณ
ของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คำว่า อนุปฺปเท ญาณํ คือ ญาณของผู้
พรั่งพร้อมด้วยผล.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น พึงประกอบความ ตามนัยที่
กล่าวแล้วในหมวดหนึ่งนั้นแล. พระเถระแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรม
หมวดของ รวม 35 คู่ ด้วยประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด 2

ว่าด้วยธรรมหมวด 3


ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง ดังนี้แล้ว บัดนี้
พระเถระเริ่มเทศนาต่อไป เพื่อจะแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสาม. บรรดา